เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 (ข้อ 316) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สปฺปีติกํ ได้แก่ สุขในปฐมฌานและทุติยฌาน. บทว่า
นิปฺปีติกํ ได้แก่ สุขในตติยฌานและจตุตถฌาน. บรรดาสุข 2 อย่างนั้น
พึงทราบความเป็นเลิศ โดยไม่แบ่งชั้นอย่างนี้ คือ สุขปราศจากปีติที่เป็น
โลกิยะ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกิยะ และสุขปราศจากปีติที่เป็นโลกุตระ
เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกุตระ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 (ข้อ 317) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาตสุขํ ได้แก่ สุขในฌานทั้ง 3. บทว่า อุเปกฺขาสุขํ
ได้แก่ สุขในจตุตถฌาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 (ข้อ 318) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมาธิสุขํ ได้แก่ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
บทว่า อสมาธิสุขํ ได้แก่ สุขที่ไม่ถึงสมาธิทั้งสองนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ 10

อรรถกถาสูตรที่ 11


ในสูตรที่ 11 (ข้อ 319) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สปฺปีติการมฺมณํ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌาน
ทั้งสอง ที่มีปีติเป็นอารมณ์ แม้ในฌาน ที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ก็นัย
นี้แหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 11

อรรถกถาสูตรที่ 12



ในสูตรที่ 12 (ข้อ 320) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ 12

อรรถกถาสูตรที่ 13



ในสูตรที่ 13 (ข้อ 321) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปารมฺมณํ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภรูปอย่างใด
อย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของรูปาวรจตุตถฌาน. บทว่า อรูปารมฺมณํ
ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภอรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์
ของอรูปาวจรฌาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ 13
จบสุขวรรคที่ 2